ประวัติความเป็นมาของกองอาสารักษาดินแดน (อส.)
 กองอาสารักษาดินแดน (อส.) เป็นกองกำลังอาสาสมัครสำรอง
ไว้ช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ ทั้งในยามปกติและยามศึก
สงคราม โดยการรับสมัครราษฎรที่สมัครใจเข้ามาเป็นสมาชิกกอง
อาสารักษาดินแดน
 (สมาชิก อส.) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เป็นประธานกรรมการและผู้บัญชาการ ในอดีตเมื่อเกิดศึกสงคราม
จะมีการรวมตัวกันของราษฎรที่มิใช่กำลังทหาร เพื่อต่อสู้กับข้าศึก
เพื่อรักษาแผ่นดิน อาทิ ชาวบ้านบางระจันรวมตัวกันต่อสู้กับพม่า
ในราวปี พ.ศ. 2308 - 2309 การสู้รบที่เมืองถลางของคุณหญิงจันและนางมุก การสู้รบที่เมืองนครราชสีมาของคุณหญิงโม รวมถึง
การสถาปนากองเสือป่า ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมาในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มี
แนวคิดในการจัดตั้งหน่วยพลเรือนอาสา โดยได้ออกพระราชบัญญัติ
กำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พ.ศ. 2481 และพระราชบัญญัติ
ให้อำนาจในการเตรียมการป้องกันประเทศ พ.ศ. 2484 เพื่อให้การ
ฝึกอบรมคนไทยให้รู้จักหน้าที่ในการป้องกันรักษาประเทศชาติใน
ยามศึกสงคราม โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้
ดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2497 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 
พ.ศ. 2497
 เป็นผลให้เกิดกิจการด้านพลเรือนอาสา มีรูปแบบ
และระบบการจัดการที่ชัดเจนมากขึ้น จึงถือเอาวันที่ 10 กุมภาพันธ์
เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
สมาชิก อส. มี 3 ประเภท คือ
1.   ประเภทสำรอง คือ สมาชิกที่ยังไม่ได้รับการฝึกอบรม
ตามหลักสูตรที่กำหนด
2.   ประเภทประจำกอง คือ สมาชิกที่ได้รับการฝึกอบรม
ตามหลักสูตร และบรรจุอยู่ในอัตรากำลัง
3.   ประเภทกองหนุน คือ สมาชิกที่ได้ปลดออกจากประจำกอง
ชั้นยศของอาสารักษาดินแดน เป็นชั้นยศที่ได้รับพระราชทานจาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบ่งออกเป็นชั้นยศของผู้บังคับ
บัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน และชั้นยศของ
สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน

ชั้นของผู้บังคับบัญชากองอาสารักษาดินแดน

1.   นายกองใหญ่ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)
2. นายกองเอก (ผู้ว่าราชการจังหวัด)
3. นายกองโท (ปลัดจังหวัด)
4. นายกองตรี (นายอำเภอ)
5. นายหมวดเอก (ปลัดอำเภอ)
6. นายหมวดโท (ปลัดอำเภอ)
7. นายหมวดตรี (ปลัดอำเภอ)
ยศของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน
1. นายหมู่ใหญ่
2. นายหมู่เอก
3. นายหมู่โท
4. นายหมู่ตรี
สำหรับสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่ไม่มียศ ได้กำหนด
ชั้นยศไว้ 4 ชั้น คือ สมาชิกเอก สมาชิกโท สมาชิกตรี และสมาชิก
กองอาสารักษาดินแดนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ กำหนดไว้มาโดยตลอด นับ
แต่วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗ โดยมีกำลังสำคัญ คือ

สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน หรือสมาชิก อส. ในทุกจังหวัด อำเภอ
ทั่วประเทศ สมาชิก อส. เป็นกำลังพลกึ่งทหารของฝ่ายปกครอง
 รับสมัครจากราษฎรที่อาสาเข้ามา มีการควบคุมบังคับบัญชา
 และรักษาระเบียบวินัยเช่นเดียวกับทหาร ตำรวจ มีการฝึกฝนและ
อบรมเป็นอย่างดี ซึ่งในระยะแรกของการจัดตั้ง กองอาสารักษาดินแดน
 การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิก อส.ส่วนใหญ่ เป็นไปในลักษณะ
สนับสนุนและ ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการ
บรรเทาสาธารณภัยและการหาข่าวตามที่กำหนดในกฎหมาย
เป็นสำคัญ ต่อมาสถานการณ์การก่อการของพรรคคอมมิวนิสต์
แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทางราชการ
จึงได้ใช้กำลังของสมาชิก อส. เข้าร่วมปราบปราม ซึ่งสมาชิก อส.
 ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ เสียสละ จนมีผลงานและ
วีรกรรมเป็นที่ยอมรับและมีส่วนทำให้สถานการณ์ดังกล่าวสงบ
จนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สมาชิก อส. ก็ได้พลีชีพกับความสำเร็จ
ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
หลังจากสถานการณ์การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ได้คลี่คลายจนสามารถ
ยุติการสู้รบลง ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และ
การเมือง กองอาสารักษาดินแดนจึงปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจ
ของสมาชิก อส. ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อ
ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติ
กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งกำหนดไว้ ๖ ประการ
คือ บรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของข้าศึก
,
ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
รักษาสถานที่สำคัญและ การคมนาคม,
 ป้องกันการจารกรรม สดับตรับฟังและรายงานข่าวทำความ
ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ ฝ่ายทหารตามที่ทหารต้องการ
และตัดทอนกำลังข้าศึก
เป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะ
เพิ่มเติมและสนับสนุนกำลังทหารได้เมื่อจำเป็น ภารกิจใน
ปัจจุบันที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
ที่สำคัญคือ การบริการประชาชน การรักษาความสงบเรียบร้อย
 การแก้ไขปัญหายาเสพติด การจัดระเบียบสังคม การป้องกัน
ภัยฝ่ายพลเรือน การปฏิบัติการจิตวิทยา การส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น
    ในอดีตที่ผ่านมา สมาชิก อส. ได้ชื่อว่าเป็น นักรบประชาชน
ที่ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ กับ ฝ่ายปกครอง ทหารและตำรวจ จนได้รับ
บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก และปัจจุบันสมาชิก อส. ก็ยังคง
เป็นกำลังสำคัญของฝ่ายปกครองในการปฏิบัติภารกิจการรักษา
ความสงบเรียบร้อย การข่าว การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตลอดจน
การปฏิบัติงานสนองนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
โดยเป็นกองกำลังสำคัญของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ
 อุทิศตัว และตรากตรำ ในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น การช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยธรรมชาติ อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย แผ่นดินไหว
คลื่นยักษ์ ฯลฯ หรือการปฏิบัติหน้าที่ใน ๓ จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ภายใต้การนำของฝ่ายปกครอง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด
 นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ต้นจนเสร็จ
สิ้นภารกิจ ซึ่งบางครั้งเป็นเวลานานนับเดือนหรือหลายเดือน เป็นต้น
แม้การเป็น อส.สำรอง นั้น จะยังไม่มีค่าตอบแทนประจำ
เดือนหรือเบี้ยเลี้ยงประจำวัน แต่การเสียสละในการปฏิบัติหน้าที่
เพื่อสังคมและประเทศชาติของ อส.สำรอง จะเป็นภารกิจสำคัญ
ที่ท่านจะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองได้
ถึงแม้ท่านจะไม่ได้รับรางวัลอะไร แต่ความภูมิใจในเกียรติภูมิ
ของท่านยังคงมีอยู่ตลอดไป